วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ภูมิปัญญาสมุนไพรไทย ช่วยรักษาโรคร้าย

 หญ้าปักกิ่ง             หญ้าเทวดาหรือหญ้าปักกิ่งหรือเล่งจือเฉ้า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Murdania loriformis (Hassk) Rolla Rao et Kammathy อยู่ในวงศ์ Commelinaceae เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว แต่ไม่ใช่พืชในวงศืหญ้าทั่วไป เป็นไม้ล้มลุก สูง ประมาณ 7-10 ซ.ม. และอาจสูงได้ถึง 20 ซ.ม. ใบเป็นใบเลี้ยงเดี่ยว ความยาวไม่เกิน 10 ซ.ม. ดอกออกเป็นช่อที่ ปลายยอด รวมกันเป็นกระจุกแน่น กลีบดอกมีสีฟ้าปนม่วง ใบประดับกลม ยาวประมาณ 4 ม.ม. ร่วงง่าย เป็นพืชที่ ชอบดินร่วนหรือดินปนทราย งอกงามในที่มีแดดรำไร ไม่ต้องการน้ำมาก เพาะปลูกโดยการเพาะชำหรือเพาะเมล็ด ปลูกได้ง่ายและไม่จำเป็นต้องมีเนื้อที่มาก
       ตามสรรพคุณของตำรายาจีน จะใช้หญ้าปักกิ่งรักษาโรคในระบบทางเดินหายใจและกำจัดพิษ โดยจะใช้ทั้ง ต้นหรือส่วนเหนือดิน (ลำต้นหรือใบ) ที่มีอายุ 3-4 เดือน (ตั้งแต่เริ่มออกดอก)
จุดประสงค์ของการใช้หญ้าปักกิ่ง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ           1. การใช้หญ้าปักกิ่งในผู้ป่วยโรคมะเร็ง โดยมีสรรพคุณว่า               - เพื่อให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งดีขึ้น ลดความทุกข์ทรมาน บางรายมีอายุยืนยาวมากขึ้น
               - เพื่อช่วยลดอาการข้างเคียงของยาเคมีบำบัดหรือรังสีบำบัด
          2. การใช้ในผู้ป่วยอื่นที่ไม่ใช่ผู้ป่วยมะเร็ง
               - เมื่อผู้ป่วยมีเม็ดเลือดขาวต่ำ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด เมื่อใช้หญ้าปักกิ่ง พบว่าเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
               - ผู้ป่วยเป็นแผลเรื้อรัง แผลอักเสบมีหนองหรือน้ำเหลืองไหล เมื่อใช้หญ้าปักกิ่ง พบว่าแผลแห้ง ไม่มี หนองและน้ำเหลือง

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา:          - สารกลัยโคสฟิงโกไลปิดส์ (จี 1 บี) แสดงฤทธิ์ยับยั้งปานกลางต่อเซลล์มะเร็งเต้านมและลำไส้ใหญ่ (SW 120) โดยมีค่า ED50?16 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร
          - สารจี 1 บี แสดงผลปรับระบบภูมิคุ้มกัน
          - สารสกัดแอลกอฮอล์ของหญ้าปักกิ่งไม่ได้ช่วยยืดอายุ แต่ผลทางพยาธิวิทยาพบว่าสามารถลดความ รุนแรงของการแพร่กระจายของมะเร็งในหนูได้ จึงคาดว่าสารสกัดดังกล่าวอาจใช้ป้องกันการเกิด มะเร็งได้
          - สารสกัดหญ้าปักกิ่ง มีฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ของยีนที่เกิดจากสารก่อกลายพันธุ์ชนิดต่างๆ เช่น AFB1
          - สารสกัด

    ความเป็นพิษ          - ความเป็นพิษเฉียบพลัน น้ำคั้นจากหญ้าปักกิ่ง ไม่ทำให้เกิดความผิดปกติในด้านการเจริญเติบโต ชีวเคมีในเลือด และพยาธิสภาพของอวัยวะสำคัญในหนูขาว ค่า LD50 เมื่อให้โดยการป้อนในหนูขาว มากกว่า 120 กรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว ซึ่งเทียบเท่า 300 เท่าของขนาดที่ใช้รักษาในคน จัดว่า ค่อนข้างจะปลอดภัย
          - ความเป็นพิษเรื้อรัง พบว่า น้ำคั้นจากหญ้าปักกิ่งขนาดที่ใช้รักษาในคน มีความปลอดภัยเพียงพอ หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลา
3 เดือน
  ขนาดและวิธีใช้แบบดั้งเดิม          - ดื่มน้ำคั้น 2 ช้อนโต๊ะ (30 มิลิลิตร) วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็นก่อนอาหาร ขนาดที่แนะนำสำหรับผู้ใหญ่ น้ำหนักตัวเฉลี่ย 60 กิโลกรัม ถ้าเป็นเด็กควรลดขนาดลงครึ่งหนึ่ง
          - ถ้าใช้สำหรับการปรับระบบภูมิคุ้มกัน จะรับประทานยาไม่เกิน 4-6 สัปดาห์ และควรหยุดยาดังนี้
          รับประทานติดต่อกัน 5-6 วัน หยุดยา 4-5 วันเช่นนี้จนกว่าครบกำหนด
          วิธีเตรียม นำส่วนเหนือดินหรือทั้งต้น น้ำหนักประมาณ 100-120 กรัม หรือจำนวน 6 ต้น ล้างให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ และโขลกในครกที่สะอาดให้แหลก เติมน้ำสะอาด 4 ช้อนโต๊ะ (60 มิลลิลิตร) กรองผ่านผ้าขาวบาง
          ผลข้างเคียง ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น 0.5-1 องศาเซลเซียส
          ข้อควรระวัง หากใช้เกินขนาด จะมีผลกดระบบภูมิคุ้มกัน
   ข้อควรคำนึงในการดื่มน้ำคั้นหญ้าปักกิ่งสด
          - หญ้าปักกิ่งเป็นสมุนไพรคลุมดิน ให้มีการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์จาก ดินมาที่ต้นและใบของ หญ้าปักกิ่ง การนำหญ้าปักกิ่งมารับประทานสดต้องแน่ใจว่า ได้ล้างหลายครั้งจนสะอาดปราศจาก เชื้อจุลินทรีย์ เพราะถ้าล้างไม่สะอาดเพียงพอ เมื่อดื่มน้าคั้นสดจากหญ้าปักกิ่ง ก็จะเป็นการดื่มเชื้อ จุลินทรีย์เข้าไปในร่างกายผู้ป่วย ซึ่งย่อมมีภูมิต้านทานต่ำ จึงอาจจะเป็นอันตรายมากกว่าคนปกติ
          - หญ้าปักกิ่งมีรูปร่างลักษณะคล้ายหญ้าอื่นๆหลายชนิด เช่น หญ้ามาเลเซีย ฯลฯ ซึ่งไม่มีประโยชน์ ทางยาเคยมีผู้บริโภคที่ซื้อหญ้าปักกิ่งตามท้องตลาดมาบริโภคด้วยราคาแพงแต่ ไม่ใช่ชนิดที่ต้องการ ดังนั้นก่อนจะซื้อมาบริโภคจะต้องมั่นใจว่าเป็นหญ้าปักกิ่งที่ต้องการจริง
          - หญ้าปักกิ่งที่มีคุณประโยชน์ต่อผู้ป่วย ต้องเป็นต้นที่มีอายุที่เหมาะสมดังนี้ คือ หญ้าปักกิ่งที่ปลูก โดยการชำกิ่ง ต้องมีอายุ 3 เดือนขึ้นไป ส่วนหญ้าปักกิ่งที่ปลุกด้วยการเพาะเมล็ด ต้องมีอายุ มากกว่า 5 เดือนขึ้นไป จากการศึกษาพบว่าหญ้าปักกิ่งที่มีอายุไม่ครบเวลาดังกล่าว จะไม่มีการ สร้างสาร G1b ซึ่งเป็นสารที่มีประโยชน์ทางยา   

         ดังนั้นการซื้อหญ้าปักกิ่งมาบริโภคนั้น ต้องมั่นใจว่าเป็นหญ้าปักกิ่งจริง เก็บเกี่ยวในขณะที่มีอายุครบเกณฑ์ที่ กำหนดตามวิธีการเพาะชำนั้นๆ จึงจะได้คุณประโยชน์สูงสุดดังประสงค์ มิฉะนั้นก็จะเป็นการบริโภคหญ้าดังกล่าว ที่สูญเปล่า ไม่ได้คุณสมบัติตามต้องการและอาจจะได้รับพิษ ถ้าในกรณีเลือกสมุนไพรชนิดอื่นมาบริโภค                                                                              
      ภาวะปัจจุบันของการพัฒนาหญ้าปักกิ่งที่ใช้เป็นยา
         
ปัจจุบันองค์การเภสัชกรรม ได้นำเอาหญ้าปักกิ่งมาพัฒนาเป็นยาเม็ด โดยยาทุก 2 เม็ด มีคุณค่าเท่ากับ ต้นหญ้าปักกิ่ง จำนวน 3 ต้น โดยกำหนดขนาดรับประทาน ครั้งละ 1-2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง ตามน้ำหนักตัวของผู้ป่วย โดยมีระยะเวลาการรับประทานขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การใช้ยาดังนี้ คือ

          1. ใช้เพื่อลดผลข้างเคียงจากรังสีบำบัดหรือยาเคมีบำบัดผู้ป่วยมะเร็ง จะรับประทาน 7 วัน หยุด 4 วัน
          2. ใช้เพื่อป้องกันการแพร่กระจายและการกลับเป็นซ้ำอีก หลังจากการรักษาแล้ว โดยรับประทาน 7 วัน หยุด 4 วัน เช่นนี้ติดต่อกันประมาณ 1 ปี และตรวจมะเร็งปีละ 2 ครั้ง
          3. ใช้เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นโรคมะเร็ง รับประทาน 7 วัน หยุด 4 วัน เช่นนี้ติดต่อกัน เป็นเวลานานไม่เกิน 6-8 สัปดาห์ โดยใช้เแพาะช่วงที่มีภูมิคุ้มกันต่ำเช่น ขณะติดเชื้อไวรัส 

                                                                                             
                             
                                                                                                ขอขอบคุณสถาบันมะเร็งแห่งชาติ
                                                                                              
 ว่านหางช้าง                                  

ชื่อวิทยาศาสตร์      :  Belamcanda chinensis DC.ชื่ออื่น ๆ    ว่านมืดยับ ว่านหางช้าง  เชื่อกัง(จีน)   , Black Berry Lily, Leopard Flower  กล้วยไม้เพชรหึง หรือว่านเพชรหึง (ภาคใต้)
 วงศ์         IRIDACEAE ลักษณะทั่วไป     :              

ต้น        เป็นพรรณไม้ขนาดเล็ก       ลำต้นกลมเป็นข้อ ๆ  มีความสูงประมาณ 50-120 ซม. ลำต้นนั้นจะเป็นสีเหลือง และมีรากฝอยอยู่เป็นจำนวนมาก 

 ใบ        จะออกสลับกันเป็น 2 แถว มีลักษณะเป็นแผ่นแบนคล้ายใบว่านน้ำ ตัวใบจะเป็นตรงยาว ตรงปลายแหลม          

 ดอก     จะออกเป็นช่อ ตรงยอด และจะแตกแยกเป็น 2-3 ช่อมีกลีบรองดอกเป็นแผ่นยาว และบานตรงปลายแหลม ดอกไม้วัดผ่าศูนย์กลางได้ 3-5 ซม. ดอกหนึ่งจะมีอยู่ประมาณ 5 กลีบ เป็นดอกสีเหลือง มีจุดเป็นสีแดงเข้ม มีเกสรตัวผู้อยู่ 3 อัน เกสรตัวเมียมี 1 อัน มีลักษณะเป็นเส้นยาวหนา ที่ตรงปลายจะแยกเป็นรอยตื้น ๆ ประมาณ 3 รอย และมีรังไข่อยู่ประมาณ 3 ห้อง          

 ผล       จะมีลักษณะเป็นผลยาวมี 3 พู เมื่อผลสุกก็จะแตกออกเป็น 3 กลีบ ภายในจะมีเมล็ดกลมเป็นสีดำ 
  การขยายพันธุ์  โดยการเพาะเมล็ด 

 ส่วนที่ใช้      ใบ และเหง้า ใช้เป็นยา

 สรรพคุณ        ใบ       โดยนำเอาใบมา 3 ใบ แล้วปรุงเป็นยาต้ม ใช้เป็นยาระบายอุจจาระและ รักษาระดูพิการของผู้หญิงได้ดี                          เหง้า  ใช้แห้งประมาณ 5-10 กรัม นำไปต้มหรือบดเป็นผงกิน หรือใช้สด โดยการตำคั้นเอาแต่น้ำกิน ใช้สำหรับภายนอก โดยการนำไปบดให้เป็นผงเป่าคอ หรือใช้ผสมทา เหง้าจะมีรสขม และเย็นจัด แต่มีพิษ ใช้เป็นยารักษาอาการต่าง ต่าง ดังนี้คือ                    

                    1.  รักษาโรคคางทูม โดยใช้เหง้าสดประมาณ 10-15 กรัม นำไปต้มกินหลังอาการวันละ  2 เวลา                    2.  รักษาอาการท้องมาน โดยใช้เหง้าสด นำมาคั้นเอาแต่น้ำกินบ่อย ๆ  
                    3.  รักษาอาการไอ หรืออาการหอบหืด ใช้เหง้าแห้งประมาณ 6 กรัม มั่วอึ้งแห้งประมาณ 3 กรัม ขิงแห้งประมาณ 3 กรัม โส่ยชินแห้งประมาณ 2 กรัม โงวบี่จี้แห้งประมาณ 2 กรัม จี่อ้วงแห้ง 10 กรัม และลูกพุทราจีนประมาณ 4 ผลนำมาต้มรวมกันเอาแต่น้ำกิน                     4. รักษาอาการเจ็บคอ โดยใช้เหง้าสดประมาณ 15 กรัม ผสมกับน้ำส้มสายชู ตำคั้นเอาช้ำชุบสำลีอมกลืนแต่น้ำช้าๆ                     5. รักษาฝีที่เต้านมบวมมีหนองในระยะเริ่มแรก ให้ใช้เหง้าแห้ง 1 เหง้า รากดอกไม้จีนแห้งประมาณ 10 กรัม นำมารวมกันบดให้เป็นผง แล้วผสมน้ำผึ้งกิน                    6.รักษาฝีประคำร้อยให้ใช้เหง้าแห้งเหลี่ยงเคี้ยว แห่โกวเช่าแห้ง อย่างละเท่า ๆ กัน นำไปบดเป็นผง ผสมทำเป็นยาเม็ด กินครั้งละ 6 กรัม หลังอาหาร                    7. รักษาอาการผื่นคืนมีน้ำเหลืองที่ขาจากการทำนา ใช้เหง้าแห้ง ใส่น้ำแล้วต้มให้เดือดผสมเกลือแกงเล็กน้อย แล้วทาตามบริเวณที่เป็น ทาวันละ 2 เวลาเช้า-เย็น          

ถิ่นที่อยู่     พรรณไม้นี้ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ หรือขึ้นเองตามหุบเขา           

 ข้อมูลทางคลีนิค   ใช้รักษาโรคผิวหนัง เป็นผื่นคัน มีน้ำเหลืองจากการทำนาให้ใช้เหง้าแห้ง นำไปต้มให้เดือดแล้วกรอง นำไปใส่เกลือแล้วคนจนละลายหมด พอน้ำอุ่น ใช้ชะล้างบริเวณที่เป็นอาการคันก็จะหายไป ชะล้างอีกครั้งหนึ่งในวันรุ่งขึ้น ผลผื่นแดงก็จะยุบและค่อย ๆ หายไป  

                        
 ข้อมูลทางเภสัชวิทยา   
                 
1.มีฤทธิ์รักษาอาการอักเสบ tectoridin และ tectorigenin มีฤทธิ์ยับยั้งฤทธิ์ของเอนไซม์ hyaluronidase นอกจากนี้ยังรักษาอาการบวมอักเสบของหนูใหญ่ เนื่องจากเอนไซม์ hyaluronidase                 

Dsc01132

                        2.สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ หรือด้วยน้ำจากเหง้าของพืชมีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำลาย ของกระต่าย นอกจากนี้สารสกัดยังมีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการสร้างเอสโตรเจนด้วย แต่ไม่สามารถป้องกันอาการอักเสบของหนูเล็กที่เกิดจากการฉายรังสีเอ็กซ์ ในความเข้มสูง และไม่มีฤทธิ์เสริมฤทธิ์ยานอนหลับ พวกฟีโนบาบิโทน ส่วนสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์จากเหล้า ฉีดเข้ากระต่ายบ้าน มีผลทำให้ความดันเลือดลดลงได้                        

                      3.มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อโรค นำน้ำต้มที่ได้จากการสกัด หรือน้ำแช่สกัดจากเหง้า พบว่ามีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อกลาก (Tinea) และมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อโรค ที่ทำให้เกิดหนอง และมีเชื้อที่ทำให้คออักเสบ 

 
                        หวังว่าคงเป็นประโยชน์บ้างสำหรับคนรักต้นไม้ทั้งหลาย พืชของไทยส่วนใหญ่จะเป็นสมุนไพรเกือบทั้งสิ้นแต่วิธีที่จะนำมาใช้ ส่วนไหน แก้อะไร ใช้อย่างไร คนรุ่นเราหายากที่จะรอบรู้ น่าเสียดายที่ภูมิปัญญาสมุนไพรพื้นบ้านต้องหายไปที่ละนิดทีละหน่อยในที่สุดจะไม่เหลืออะไรเลย กินแต่ยาแค๊ปซูล ...........กินได้กินดี  ขอบคุณมากค่ะ   สวัสดีค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น